มูลนิธิศึกษาพัฒน์ โครงการแสงสว่างแห่งปัญญา Lighthouse Project

เมื่อปี 2539 คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยาและเพื่อนๆ คิษย์เก่า MIT มีความคิดกันว่า “พวกเราต่างก็ประสบความสำเร็จในชีวิตกันมามากพอสมควร น่าที่จะทำอะไรเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติได้อีก” จึงตกลงกันว่าจะนำเทคโนโลยี จาก MIT มาพัฒนาคนไทยให้สู้ได้ในเวทีโลก

ในตอนนั้นใช้ชื่อกลุ่มว่า “FREE” โดยมี ดร.เชาวน์ ณ ศีลวันต์ องคมนตรี คุณแบงกอก เชาว์ขวัญยืน กรรมการบริษัทไทยออยล์ นายศิววงศ์ จังคศิริ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.โอฬาร ไชยประวัติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคุณแอนนิต้า ออร์ตัน เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ในลำดับต่อมา คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เข้าร่วมมูลนิธินี้ด้วย ต่อมา ดร.เชาวน์ เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้รับพระราชทานนาม “มูลนิธิศึกษาพัฒน์” และมีพระราชดำรัสว่า “จะดำเนินการอะไรให้คำนึงถึงจรรยาบรรณคนไทยเป็นหลัก”

ปี 2540 จึงได้ก่อตั้งมูลนิธิศึกษาพัฒน์อย่างเป็นทางการ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 เรื่อง คือ

1) เรื่องการบริหารจัดการน้ำ โดยมี ดร.เชาวน์ เป็นผู้รับดำเนินการ

2) เรื่องการพัฒนาการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อการเรียนการสอน โดยมี คุณพารณ เป็นผู้รับดำเนินการ ต่อมาทางมูลนิธิฯ ได้ทราบว่า The Media Lab ของ MIT มีเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Constructionism ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ Professor Seymour Papert ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็ก ระยะเวลามากกว่า 20 ปี จึงได้ติดต่อ The Media Lab, MIT ขอเชิญคณาจารย์มาแนะนำเรื่องดังกล่าวให้วงการศึกษาไทย The Media Lab, MIT ได้ส่ง Professor Seymour Papert มาศึกษาดูงานที่ประเทศไทย คุณพารณได้เชิญไปพบกับคุณรุ่ง แก้วแดง อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน ที่สถาบันราชภัฎแห่งหนึ่งและวชิราวุธวิทยาลัย Prof.Papert และคณะ มีความเห็นว่า สถาบันที่ไปศึกษาดูงานจำเป็นต้องดำเนินการหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หลังจากประชุมร่วมกันแล้ว จึงตกลงทำโครงการนำร่องกับมูลนิธิศึกษาพัฒน์ โดยตั้งซื่อว่า Lighthouse Project หรือ โครงการแสงสว่างแห่งปัญญา ซึ่งประธานโครงการฯ คือ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

Lighthouse Project

เป็นโครงการนำร่องที่นำแนวคิด constructionism หรือชื่อภาษาไทยว่า “การเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา” มาเผยแพร่ให้คนกลุ่มเล็กๆ ในระยะเริ่มต้น และต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์ทดลองหลายแห่ง โดยมูลนิธิศึกษาพัฒน์ได้ร่วมมือกับมูลนิธิไทยคม ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน IT และการสื่อสารผ่านดาวเทียม นำเอาการเรียนรู้ตามแนวทาง constructionism มาประยุกต์ใช้กับโรงเรียน และศูนย์การศึกษาของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน และชุมชน รวมทั้งได้สร้างเครือข่ายที่เรียกว่า กลุ่มลำปาง (Lampang Circuit) โดยมีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (ภาคเหนือ) เป็นแกนนำในการดำเนินงาน เผยแพร่แนวความคิด constructionism ขึ้นในภาคเหนือ ซึ่งเป็นประหนึ่ง ห้องทดลองขนาดใหญ่ ก่อนที่จะส่งผ่านแนวความคิดนี้ ขยายผลไปยังหมู่บ้าน โรงเรียน มหาวิทยาลัย และองค์กรภาคเอกชน หลายแห่งในประเทศไทย

โดยมีการวางแผนและปฏิบัติงานที่สอดคล้องตามแนวทางการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 กล่าวคือ ในการวางแผนนั้น จะต้องตอบคำถามข้อต่อไปนี้ ให้กระจ่างเสียก่อน เพื่อใช้เป็นเข็มทิศชี้นำทิศทางไปส่จุดหมายว่า ทำอะไร ทำอย่างไร ทำเพื่อใคร และทำแล้วได้อะไร ซึ่งคำตอบที่ได้ชัดเจนดังนี้

ทำอะไร : พัฒนาคนไทยให้มีความรู้ ความสามารถ ควบคู่ไปกับ คุณธรรม เพื่อเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศที่สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในโลกยุคโลกาภิวัตน์

ทำอย่างไร : นำแนวความคิด constructionism ทีใช้วิธีการเรียนรู้ จากการทำโครงงานที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 บูรณาการด้วยคุณธรรม จริยธรรม วิชาการ เทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อสร้างกระบวนการและทัศนคติที่ดี ต่อการเรียนเจนติดเป็นนิสัยใฝ่เรียนรู้ไปตลอดชีวิต

นอกจากนั้น ยังต้องมีความตระหนักว่า การที่จะสร้างเด็กไทยให้สู้ได้ในโลก การบูรณาการเรื่องภาษาอังกฤษจึงมีความสำคัญยิ่ง เด็กไทยจะต้องมีความสามารถทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเท่าเทียมกัน

ทำเพื่อใคร : เพื่อเด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป ให้มีความสามารถในการเรียนรู้ และเกิดปัญญาได้ด้วยตัวเองและเรียนรู้กันเป็นทีมหรือเป็น กลุ่มได้ จนติดเป็นนิสัยใฝ่เรียนรู้ไปตลอดชีวิต โดยให้ความสำคัญกับคุณธรรม จริยธรรม และการเห็นประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

ทำแล้วได้อะไร : พลเมืองไทยมีคุณภาพชีวิตที่มีความสุขตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ประเทศชาติมีความสงบสุข ร่มเย็น และสามารถแข่งขันกับนานาอารยประเทศได้

ส่วนในการปฏิบัติงานยึดหลัก 6 ข้อ ตามแนวทางการทรงงานของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ดังต่อไปนี้

1. คิด macro ทำ micro
การทำงานในรูปแบบ คิด macro ทำ micro คือ วิธีการพัฒนาการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่ nation that learns ได้ต้องเริ่มเปลี่ยนวิธีการ ทำงานในส่วนเล็กๆ ในแต่ละระดับของสังคมจนประสบความสำเร็จเป็นที่พอใจระดับหนึ่งเพื่อสร้างศรัทธาก่อน แล้วจึงค่อยขยายผลออกไปยังส่วนอื่นๆ ของสังคมในระดับเดียวกัน โดยให้ทุกระดับมีกระบวนการเรียนรู้ เริ่มตั้งแต่ ชุมชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย ภาคอุตสาหกรรม และประเทศชาติ เช่น โครงการบ้านน้าน้อย อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จนมีผลงานเป็นที่ ประจักษ์แล้วจึงขยายผลงานไปยังชุมชนบ้านสามขา อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ในระดับเดียวกันต่อไป
นอกจากนี้ การเริ่มทำจากจุดเล็กๆ (micro) จะทำให้เกิดผลงานที่ดีได้ง่ายกว่า และสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ง่าย ศรัทธามาจากผลของงานในขณะที่ถ้าเริ่มต้นทำงานจากภาพใหญ่ (macro) ก่อนเลย โอกาสที่จะสร้างผลงานให้เป็นที่ยอมรับ และ ศรัทธาก็ทำได้ยากขึ้น ทำให้หาคนเข้ามาร่วม กระบวนการเปลี่ยนแปลงได้ยาก

2. ทำอะไรเป็นขั้นเป็นตอน
การดำเนินงานที่มุ่งจากส่วนเล็กๆ ดังกล่าว ทาง Lighthouse Project ได้กำหนด วิธีทำเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มจากทีละหนึ่งแห่งจนมีผลงานในระดับที่สามารถ ดำเนินการด้วยตัวเองได้แล้ว จึงขยายผลไปทำที่อื่นต่อไป

3. ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
การดำเนินการเริ่มต้นด้วยการเลือกทำงานกับบุคคลที่มีทัศนคติตรงกัน มีความรู้ ความเข้าใจ และศรัทธาในวิธีการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และมีอุดมการณ์ด้านการศึกษาที่จะปฏิรูปการศึกษาให้ดีฃึ้น มารับถ่ายทอดนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (constructionism) แล้วนำไปปฏิบัติเป็นกลุ่มนำร่อง (pilot projects) ในที่ต่างๆ ทุกระดับของสังคมไทยก่อน ก็จะทำให้การดำเนินการมีปัญหาน้อย ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม เมื่อกลุ่มอื่นๆ ที่แต่เดิมไม่มั่นใจในวิธีการพัฒนาคนแบบนี้มาก่อน เกิดความศรัทธา จึงเข้าร่วมขบวนการ ทำให้สามารถขยายผลกระจายออกไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ
ยกตัวอย่าง เซ่น โรงเรียนบ้านสันกำแพงจากเดิมที่มีเพียงห้องเรียน เดียวที่ทดลองใช้วิธีการเรียนการสอนแบบ constructionism ต่อมาก็ได้ขยาย อย่างค่อยเป็นค่อยไปได้ 10 ห้องในระยะเวลา5 ปี ในจำนวนห้องเรียนทั้งหมด 32 ห้อง เมื่อครูส่วนใหญ่เห็นผลจึงเกิดความศรัทธาและร่วมมือร่วมใจกัน เปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอน ตามแนวคิด constructionism ทั้งโรงเรียน
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เห็นชอบกับวิธีการ constructionism ดังกล่าว จึงส่งนักศึกษามาฝึกงานกว่า 50 คน เป็นการขยายผลจนเกิด Chiengmai Education Cluster เป็นการทลายกำแพงกั้นระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐาน อุดมศึกษา การฝึกหัดครู ทำให้ปัญหาการขาดแคลนครู ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากกลายเป็นเรื่องง่ายที่ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ทั่วกันหมด

4. ทำอะไรต้องนึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ
ในการนำแนวคิด constructionism และเทคโนโลยีจาก MIT มาใช้ ต้องมีการดัดแปลง ปรับปรุงให้เข้ากับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของสังคมไทย ในขณะเดียวกัน เมื่อมีการขยายผลการดำเนินงานไปยังท้องถิ่นต่างๆ ยังต้องคำนึงถึงภูมิสังคมของแต่ละแห่งนั้นด้วย เพื่อปรับเปลี่ยน โครงการให้เข้ากับสภาพสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น
ตัวอย่างเช่น โรงเรียนที่จังหวัดเชียงใหม่ ต้องคำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีของชาวล้านนา และย่อมแตกต่างกับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราซภัฎนครศรีธรรมราช เป็นต้น

5. การสื่อความ ประสานงาน และการบูรณาการ
ในการทำงานทุกขั้นตอน เน้นถึงการสื่อความเพื่อให้แต่ละที่มีความเข้าใจตรงกัน สามารถประสานงานและบูรณาการความร่วมมือกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. ทำโครงการอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ
ในการขยายผลไปยังองค์กรและโรงเรียนต่างๆ ตลอดจนชุมชนในท้องถิ่นต่างๆ จะต้องจัดการให้มีหัวหน้าในแต่ละองค์กรนั้นๆ เป็นเจ้าของโครงการ โดยที่ Lighthouse Project จะเป็นเพียงผู้ชี้นำและประสานงาน (facilitator) เท่านั้น
ตัวอย่างเช่น โรงเรียนบ้านสันกำแพง มีผู้อำนวยการเพชร วงค์แปง เป็นเจ้าของโครงการ บ้านสามขา มีพ่อหลวงจำนงค์ จันทร์จอม (ผู้ใหญ่บ้าน) เป็นเจ้าของโครงการ และ C-Chep มีกรรมการผู้จัดการกลุ่มเคมีภัณฑ์เครือซิเมนต์ไทย เป็นผู้รับผิดชอบดูแลโครงการและประสานงาน เป็นต้น โดย Lighthouse Project เป็นเจ้าของอยู่โครงการเดียว คือ โรงเรียนดรุณสิกขาลัย