หลักสูตรระดับประถมศึกษา

แนวคิดการจัดการศึกษา

การพัฒนาผู้เรียนในระดับประถมศึกษาเป็นการพัฒนาแบบองค์รวม เน้นการสร้างสมดุลแห่งการเรียนรู้ สู่การหล่อหลอมมนุษย์ที่สมบูรณ์ ให้ผู้เรียนมีพัฒนาการที่สมดุลระหว่างร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ผ่านวิถีชีวิตประจำวัน และ การเรียนรู้แบบบูรณาการในโครงงาน (Project-based Learning) และได้นำทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) ของ Prof.Seymour Papert แห่ง MIT Media Lab มาสร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้โอกาสผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง แล้วสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้มือหนึ่ง (First Hand Knowledge) ได้ด้วยตนเอง

การพัฒนาผู้เรียนผ่านวิถีชีวิตประจำวัน

ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะชีวิตพื้นฐานที่สำคัญจำเป็นต่อการใช้ชีวิต สร้างวินัยภายใน การสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและการแก้ปัญหา

กิจวัตรประจำวันเริ่มต้นด้วยการตั้งหลักใจให้มั่นคงผ่านกระบวนการเข้าแถวเคารพธงชาติ สวดมนต์ ปฏิญาณตน และเจริญสติสมาธิร่วมกัน ออกกำลังกายเพื่อพลานามัยที่แข็งแรง กระตุ้นการทำงานของสมอง เรียนรู้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว เพื่อฝึกคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงประสบการณ์สู่การเรียนรู้ที่เท่าทันโลก ผ่านกิจกรรมโฮมรูม

กิจวัตรในห้องเรียน ฝึกทักษะชีวิต การทำงานบ้าน และการทำงานเพื่อส่วนรวม เช่น การดูแลความสะอาดห้องเรียนพื้นที่ส่วนตัวและส่วนรวม ช่วงพักกลางวันนักเรียนจะได้หมุนเวียนมาเป็นหน่วยบริการเพิ่มเตรียมจัดอาหารและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เพื่อนในชั้นเรียน

การพัฒนาผู้เรียนผ่านหน่วยบูรณาการโครงงาน

เป็นการเรียนเพื่อนำพาให้นักเรียนเข้าถึงคุณค่าของสิ่งที่อยู่รอบตัว และเรียนรู้อย่างลึกซึ้งผ่านกระบวนการที่ให้นักเรียนได้เกิดประสบการณ์ตรง ผ่านหัวเรื่อง (Theme) ที่เชื่อมโยงสาระการเรียนรู้เข้าสู่ชีวิตของนักเรียน ออกแบบโดยการบูรณาการสาระการเรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ การงานอาชีพ เป็นต้น นักเรียนจะได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง ศึกษาค้นคว้า ฝึกฝนทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็น นักเรียนจะได้เลือกทำโครงงานที่ตนสนใจภายใต้หัวเรื่อง ตกผลึกการเรียนรู้ของตนเองแล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (Show & Share) กับเพื่อนๆ และคุณครูในชั้นเรียน

กระบวนการ 3 ขั้นตอน ที่ถูกออกแบบให้หมุนเวียนในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง คือ

กระบวนการ 3 ขั้นตอน Think Make Reflection

  • คิดและออกแบบด้วยตนเอง (Thinking or Designing) เพื่อฝึกฝนการคิดและจินตนาการ การคิดอย่างมีเป้าหมายเป็นรูปธรรม และการคิดในเชิงเหตุผล ขั้นตอนที่ 1
  • นักเรียนจะต้องเป็นผู้ที่ลงมือทำด้วยตนเอง (Making and Doing) มีความเป็นเจ้าของในสิ่งที่ตนเองสร้างอย่างเต็มที่ โดยอาจเริ่มเรียนรู้จากสิ่งที่ผู้เรียนมีความสนใจ หรือจากปัญหาที่นักเรียนมีความสนใจเป็นพิเศษที่จะค้นหาวิธีแก้ โดยมี facilitator หรือผู้อำนวยการเรียนรู้ เป็นผู้คอยชี้แนะ ให้คำแนะนำและร่วมเรียนรู้ไปกับนักเรียน ขั้นตอนที่ 2
  • กระบวนการสะท้อนความคิด (Reflecting or Contemplating) นักเรียนได้ฝึกฝนสะท้อนความคิด ระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านไป ทำให้เกิดความตระหนักในสิ่งที่ได้เรียนรู้ ได้เรียนรู้เชิงประจักษ์ (เห็นได้ด้วยตนเอง) ว่าตนเรียนรู้ได้อย่างไร และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างไร การสะท้อนความคิดนี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก เพราะเป็นการฝึกฝนกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน ที่จะค่อยๆ สั่งสมประสบการณ์จากการคิดทบทวนสิ่งที่ตนเองได้ทำ หรือรับฟังมุมมองความคิดเห็นที่แตกต่างจากเพื่อน ครู และสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนที่ 3

การพัฒนาผู้เรียนผ่านวิชาพื้นฐาน (Core)

เป็นนำความรู้ทั่วไปที่จำเป็นและเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น คัดเลือกจากหลักสูตรพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ จัดกระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (active learning) โดยเน้นการสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ และเป็นแหล่งสร้างแรงบันดาลใจสู่ชั้นเรียนโครงงานด้วย ในระดับชั้นประถมศึกษานักเรียนวิชาที่จัดให้นักเรียนได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ศิลปะ สุขศึกษาและพลศึกษา นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ (FabLearn lab)

โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา

* จำนวนชั่วโมงที่จัดให้นักเรียน เรียนทั้งปี ของระดับประถมศึกษาตอนต้นเท่ากับ 1,152 ชั่วโมง และของระดับประถมศึกษาตอนปลายเท่ากับ 1,092 ชั่วโมง